JSTP

Inspiration

เเรงบันดาลใจในการออกเเบบ logo สำหรับงาน 20 ปี JSTP นี้ได้มาจากเเนวคิดของกลุ่ม Bauhaus เเละงานวิจัยของ Autodesk เรื่อง generative design การที่เราจะออกเเบบอะไรสักอย่างให้มันเจ๋งเราต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการเช่นเดียวกับผลลัพธ์ดังนั้นเพื่อสะท้อนนวัตกรรมในการก้าวไปข้างหน้าของ JSTP ในยุคที่ machine จะมาเเทนที่มนุษย์เราต้องทำอะไรที่ท้าทายมากยิ่งขึ้นอย่างที่ JFK พูดไว้ในปี 1962 ว่า "We choose to go to the moon. We choose to go to the moon in this decade and do the other things, not because they are easy, but because they are hard, because that goal will serve to organize and measure the best of our energies and skills, because that challenge is one that we are willing to accept, one we are unwilling to postpone, and one which we intend to win, and the others, too."

#Composition 8 #Generative Design #Genetics Algorithm #Participatory Art #Bauhaus

Composition 8 by Vasily Kandinsky

Composition 8

by Vasily Kandinsky

Composition 8 เป็นผลงานของศิลปิน Vasily Kandinsky ในปี 1922 Kandinsky ได้เข้าร่วมกับกลุ่ม Bauhaus ด้วยความสนใจในสุนทรีย์ของ Constructivism ใน Composition 8 นี้ Kandinsky ต้องสะท้อนความเเตกต่างเเต่เป็นหนึ่งเดียวกันของสี รูปร่าง ผลกระทบทางจิตวิทยาเเละจิตวิญญาณของมนุษย์ งานชิ้นนี้มีความย้อนเเย้งทางอารณ์ที่ผสมระหว่างความเกรี้ยวกราดเเละผ่อนคลายโดยรูปทรงที่น่าสนใจเเละเป็นเอกลักษณ์ที่สุดอันนึงของ Kandinsky คือทรงกลมที่เป็นตัวเเทนของความเเปลกประหลาดเเละความเรียบง่ายในเวลาเดียวกัน

เเปลมาจากบทวิจารณ์ของ Nancy Spector, the Guggenheim Collection


Generative Design

Generative design คือการใช้เทคโนโลยีในการออกเเบบโดยเลียนเเบบกระบวนการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต generative design Process เริ่มต้นจากการตั้งเป้าหมายเเล้วให้คอมพิวเตอร์สร้างผลลัพธ์ลองถูกลองผิดให้มีความหลากหลายออกมา หลังจากนั้น designer จึงคัดเลือกผลลัพธ์ที่ดีที่สุดเป็นตัวตั้งต้นในการทำซ้ำเพื่อสร้างผลลัพธ์รุ่นต่อไปที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ข้อดีของ generative design คือการได้สำรวจความเป็นไปได้ทั้งหมดออกมาเเละสามารถเลือกผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพที่สุดได้

Generative design ยังรวมไปถึงกระบวนการออกเเบบที่ designer ไม่ได้เป็นคนออกเเบบชิ้นงานโดยตรง เเต่กำหนดกฎเกณฑ์ในการออกเเบบขึ้นมาเพื่อให้คอมพิวเตอร์สร้างผลงานขึ้นมาตอบโจทย์ได้ ปัจจุบันมีศิลปินเเละนักออกเเบบหลายคนที่นำ generative design ไปใช้ในงานออกเเบบสถาปัตยกรรม เช่น Zaha Hadid, Neri Oxman, ศิลปะ เช่น Teamlab, Electric Sheep ดนตรี เช่น Joseph Nechvatal, Steve Reich เเละ กราฟิค เช่น Logo ของ Max Planck Insitute, Logo ของ MIT Medialab


Generatve Design for a UAV body by Autodesk

Evolving Logo by Michael Schmitz

MIT Medialab logo


Net In Ruins by Laura Devendorf

Genetics Algorithm

Genetics algorithm เป็นหนึ่งใน algorithm ที่เลียนเเบบกระบวนการคัดสรรตามธรรมชาติ genetics algorithm มักนิยมใช้ในการเเก้ปัญหา optimization problems เเละ search problems โดยอาศัยกระบวนการ กลายพันธุ์ (Mutaion) การส่งข้ามข้อมูล (Cross over) เเละ การคัดเลือก (Selection) ส่วนสำคัญหลักของ genetics algorithm คือ ยีนส์หรือข้อมูลพันธุกรรมที่บันทึกข้อมูลต่างๆ เเละ fitness function ซึ่งใช้ในการคัดเลือกยีนส์ที่เหมาะสม


Participatory Art

Participatory art คืองานศิลปะที่ผู้ชมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเเนวคิดเรื่อง participatory culture ซึ่งเสนอว่ามนุษย์สามารถเป็นผู้สร้างเเละผู้ใช้ได้ในเวลาเดียวกัน งานศิลปะประเภทนี้ชวนให้ผู้ชมมาต่อเติมหรือทำการเเสดงต่อจากสิ่งที่ศิลปินหรือผู้ชมก่อนหน้าได้เริ่มต้นไว้ วิธีการเเบบนี้ทำให้ตัวชิ้นงานมีพลวัฒน์เเละความเคลื่อนไหวตอบสนองต่อความเปลี่ยนเเปลงของสังคม participatory art พบได้ทั้งในศิลปะเเขนงต่างๆทั้ง visual เเละ performance

Net In Ruins by Laura Devendorf


Net In Ruins by Laura Devendorf

The Bauhaus

The Bauhaus คือสถาบันการศึกษาศิลปะที่มีอิทธิพลอย่างสูงในช่วง Modernism สถาบันนี้ให้ความสำคัญกับความเชื่อมโยงของสังคมสมัยใหม่เเละเทคโนโลยีโดยเล็งเห็นความสำคัญของการเข้ามาของอุตสาหกรรมที่จะทำให้ศิลปะเเละความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์เเสดงออกได้มากขึ้น Bauhaus ยังให้ความสำคัญกับการทดลองสิ่งใหม่โดยประยุกต์ใช้วิธีคิดเเบบวิทยาศาสตร์ในการทำงานศิลปะ